Bullet Journal ( บูโจ ) เรื่องสำคัญต้องรู้ ! จัดระเบียบความคิด เพื่อชีวิตที่ดีกว่า
Bullet Journal (บูโจ)
เป็นไหมครับ ? ที่รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนหลง ๆ ลืม ๆ ตั้งใจจะทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ก็มักจะมีข้อผิดพลาด โดยส่วนใหญ่ผิดพลาดจากความ ขี้หลงขี้ลืม ของเราเอง ซึ่งนิสัยแบบนี้สามารถแก้ไขได้นะ ง่าย ๆ ก็ด้วยการจดบันทึกลง สมุดโน๊ต โทรศัพท์ หรือ แท็บเล็ต อะไรก็แล้วแต่สะดวกจะหยิบใช้
ซึ่งที่ผ่าน… มาก็ดูโอเค จนวันหนึ่ง เราได้มาพบกับหนังสือ ชื่อ The Bullet Journal Method ทำให้การบันทึกของเรามันมีความหมาย และเป้าหมายชัดเจนขึ้นไปอีก อธิบายแบบเข้าใจง่าย ๆ คือ หยิบปากกา และสมุดสักเล่ม แล้วเริ่มจัดระเบียบลำดับความคิด โดยการจดบันทึก สิ่งที่เราต้องทำ ลงมาเป็นลำดับ เพื่อให้เราได้ทำเป้าหมายของเราทีละข้อ ๆ รวมถึง วางแผนในอนาคต ถึงสิ่งที่เราต้องทำ ลดความสับสน วุ่นวาย ทบทวน และ กลับสู่ จิตใจตนเอง นี่คือ จุดเปลี่ยนที่ BuJo ( บูโจ ) จะทำให้คุณ เลิกเป็นคนขี้ลืม ไปตลอดกาล
จุดเริ่มต้น ของวัฒนธรรมการเขียน B u l l e t J o u r n a l ( B u J o ) เริ่มต้นจากหนุ่มชาวอเมริกัน ชื่อคุณ Ryder Carroll ( ไรเดอร์ แคร์โรล ) ซึ่งในวัยเด็กเป็นโรค สมาธิสั้น เขาจึงเริ่มหาวิธีที่สามารถทำให้ตัวเองมีสมาธิ และ โฟกัสกับสิ่งที่ต้องทำได้ดีขึ้น เขาเลือก วิธีที่ง่าย ที่สุด คือ การจดบันทึกลงสมุด ท่ามกลางกระแสเทคโนโลยีที่รายล้อม เหตุผลเพียงเพราะต้องการออกห่างจากสิ่งรบกวนต่าง ๆ รอบตัวและอยากทำความรู้จักกับตัวเองให้ดีที่สุด แล้วแนวคิดนี้ก็ไปสะดุดตาเพื่อนของเขา ถึงกับอุทานดัง ๆ ว่าเรื่องที่เขาทำอยู่นั้น “ ต้องบอกให้โลกได้รับรู้ ” จากนั้นข้อมูลต่าง ๆ ได้ถูกแชร์ลงบน เว็บไซต์ และได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก จนมีคนเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจนเกิดเป็นสังคมเล็ก ๆ นามว่า บูโจ ( BuJo ) ขึ้นมา
การบันทึก B u J o ( บูโจ ) สิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องเขียนลงไป คือ เรื่องที่ต้องการจะทำ มากที่สุด ต่อมาคือ เรื่องที่ควรจะทำ เป็นอันดับแรก และ เรื่องที่จะทำในอนาคต เป็นการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน จากนั้นจัดการเรื่องต่าง ๆ ที่จดลงไปและกลับมา Check list อย่างสม่ำเสมอ ว่าเรื่องไหนที่เราทำเสร็จไปแล้วบ้าง และมีเรื่องไหนที่เรากำลังทำ และต้องทำเพิ่มเติมในอนาคต
สิ่งจำเป็นในการเขียน Bujo ( บูโจ ) ซึ่งถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญ อย่างแรกคือ ชื่อหัวข้อ เราจะได้รู้ว่ากำลังพูดถึงเรื่องอะไร ต่อมา คือ เลขหน้า การใส่เลขหน้าไว้จะช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้นเยอะ และ เพิ่มประโยคสั้นๆ เป็นการบันทึกช่วยจำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นและที่ขาดไม่ได้เลย คือ สัญลักษณ์แสดงสถานะ หรือ Bullets พระเอกของเรื่อง จะเรียกว่าเป็น หัวใจ หลักเลยก็ว่าได้ เพราะจะช่วย ‘ รายงานผล ’ ถึงสิ่งที่เราบันทึกโดยการใช้สัญลักษณ์แทน
ตัวอย่างเช่น
+ อาจแทนงานที่เราต้องทำ
X แทนงานที่ทำเสร็จแล้ว
> แทนงานที่ยังทำไม่เสร็จ
– แทนการบันทึกเรื่องทั่วไป
ซึ่งในแต่ละเครื่องหมาย เราอาจกำหนดขึ้นมาเอง ตามแบบที่เราต้องการ ได้ เพื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้น
สิ่งที่จะทำให้เราเห็น ภ า พ ก ว้ า ง ได้ชัดเจนมากขึ้นในการจดบันทึก คือ โครงสร้าง ซึ่ง BuJo ( บูโจ ) จะมี สารบัญ ช่วยให้เราหาหน้าที่จดเอาไว้ได้ง่ายขึ้น มี แผนบันทึกระยะยาว เช่น การไปท่องเที่ยวต่าง ๆ หรือกิจกรรมที่จะทำในโอกาสพิเศษอีกทั้ง แผนบันทึกแบบรายเดือน จะช่วยให้เรารู้ว่ามีงาน หรือ เรื่องอะไรที่เราต้องรับผิดชอบบ้างในแต่ละเดือน และสุดท้าย แผนบันทึกแบบรายสัปดาห์ หรือรายวัน เกิดอะไรขึ้นกับเราบ้างในอาทิตย์นี้ หรือวันนี้เรามีเรื่องอะไรต้องเคลียร์ ต้องจัดการ ต้องรับผิดชอบเรื่องไหนบ้างให้เสร็จ ซึ่งแผนทั้งหมดที่เกิดขึ้น จะช่วยจัดระเบียบ และจัดกระบวนการคิดของเราให้มีสมาธิ มีแผนการจัดการที่ดีขึ้น ไม่เป็นคน ขี้หลงขี้ลืม และ ทำให้เราได้ทบทวนเรื่องที่เคยผ่านมา และพัฒนาชีวิตของเราเองให้ดีขึ้นไปอีกด้วย
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หลายคนคงได้รู้จักวิธีการ จ ด บั น ทึ ก ในแบบฉบับของ บูโจ ( B u J o ) มากขึ้น และนี่เป็นเพียงวิธีการ จดบันทึก เพียงรูปแบบหนึ่งเท่านั้น ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ได้ตามความต้องการ เพราะเรานั้นเป็นผู้เขียนชะตา และกำหนดเส้นทางชีวิตให้ตัวของเราเองได้
อ้ า ง อิ ง :
• https://www.newyorker.com/culture/culture-desk/can-bullet-journaling-save-you
• https://www.goodhousekeeping.com/life/a25940356/what-is-a-bullet-journal
สอบถามข้อมูลสินค้า
LINE Official : @HILMYNA
085-5077766 / 093-6464405 K.ตรอง