สมุดทำมือ 5 แบบง่าย ๆ ใครก็ทำได้ – 5 SIMPLE BOOK BINDING METHODS
สมุดทำมือ 5 แบบง่าย ๆ ใครก็ทำได้
สมุดและหนังสือ มีรูปแบบดีไซน์ที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความชอบ และประเภทการใช้งานของแต่ละคน อีกทั้งยังช่วยสร้างประโยชน์ อย่างไม่ทันสังเกต จนกลายมาเป็นส่วนหนึ่งใน ชีวิตปร ะ จำ วัน ของเราโดยที่เราไม่รู้ตัว
ในบทความนี้ Hilmyna จะพาผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักกับ 5 วิธีการเย็บสัน สมุดที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน รับรองว่างานนี้หายข้อสงสัย และสามารถทำตามที่บ้านได้เลยทันที !
1.สมุดทำมือ – แบบเย็บกี่ / กี่มือ ( thread binding )
จุดเด่น ของ การเย็บกี่ คือใช้ด้ายเย็บ ทำให้สมุดมีความคงทนไม่หลุดออกจากกันเมื่อนำไปใช้งานนาน ๆ สามารถกางสมุดออกได้ถึง 180 องศา ทำให้เวลาเขียนจะไม่เสียพื้นที่ของกระดาษ แถมยังสามารถ ออกแบบวิธีการเย็บ ได้หลากหลายรูปแบบวิธีอีกด้วย การเย็บประเภทนี้จึงมี เอกลักษณ์ ฉพาะตัวที่ไม่เหมือนการเย็บประเภทอื่น ในปัจจุบัน มีการเย็บกี่ด้วยเครื่องเย็บ ซึ่งประหยัดเวลาและแรงงาน แต่การเย็บกี่ด้วยมือก็ยังได้รับความนิยมอยู่ และถือเป็น งานฝีมือ ที่ต้องใช้ความประณีตและความชำนาญ ร้านรับทำเล่ม และซ่อมหนังสือบางร้าน ก็ยังใช้วิธีการนี้อยู่แต่มีจำนวนลดน้อยลงเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่นิยมใช้กับพจนานุกรม , สารานุกรม , ไดอารี่ และนวนิยายที่มีจำนวนหน้ามากกว่า 400 – 500 หน้า
รับชมคลิป – ขั้นตอน การเย็บกี่ / กี่มือ ได้ที่นี่ :
2.สมุดทำมือ – แบบเย็บมุงหลังคา ( saddle binding )
เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่นำกระดาษทำปกและกระดาษเนื้อในประมาณ 30 – 40 แผ่นมาเรียงกัน จากนั้นใช้เครื่องเย็บกระดาษ หรือแม็กเย็บขนาดเล็ก เย็บตรงแนวพับ 2 – 3 จุด เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว หรือ จะใช้ด้ายในการเย็บ ซึ่งวิธีการเย็บด้ายนี้จะคล้ายกับการเย็บกี่เพียงแต่ไม่ได้เอากระดาษของแต่ละส่วนมารวมกัน จะเอาเพียงแค่ส่วนเดียวมาใช้งาน ส่วนใหญ่นิยมใช้กับ สมุดจดบันทึก , หนังสือ และ แคตตาล็อก ที่มีความหนาของกระดาษอยู่ที่ประมาณ 70 – 260 แกรม
รับชมคลิป – ขั้นตอน การเย็บมุงหลังคา ได้ที่นี่ :
3.สมุดทำมือ – แบบเย็บกี่ไสกาว ( glue binding )
เป็นอีกวิธีที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะ ใช้ ด้าย ในการเย็บ ซึ่งทำให้ สมุดหรือหนังสือ นั้นจะได้ความแข็งแรงเป็นพิเศษ ไม่หลุดง่ายเหมือนการเย็บแบบไสกาวปกติ จำนวนหน้าที่ใช้ตั้งแต่ 70 – 300 แผ่น ซึ่งก่อนจะทำการ ไสกาว จะต้องจัดชุดกระดาษแบบมุงหลังคา โดยแบ่งเป็นเล่มเล็ก ๆ แล้วเย็บด้วยด้ายก่อน จากนั้น จึงนำไปไสกาว ส่วนใหญ่จะนิยมใช้กับงานประเภท นิตยสาร , โฟโต้บุ๊ค และหนังสือแบบเรียน
รับชมคลิป – ขั้นตอน การเย็บกี่ไสกาว ได้ที่นี่ :
4. แบบเย็บไสกาว ( perfect binding )
เป็นอีกหนึ่งการเย็บที่ ได้รับความนิยม อย่างมาก เพราะด้วยดีไซน์ที่ดูเรียบง่ายและราคาถูก การเย็บประเภทนี้จะนิยมใช้ทำหนังสือแบบเรียนหรือนิตยสาร วิธีการคือจะไสขอบกระดาษด้านข้าง เพื่อให้กาวซึมเข้าไปและทากาวอีกรอบเพื่อการยึดติดที่ดี เพียงเท่านี้ก็จะได้นิตยสารที่ออกมาดูเรียบร้อย สวยงาม แต่การเย็บแบบไสกาว ไม่สามารถกางออกได้มาก จึงเหมาะกับการทำหนังสือมากกว่าสมุด เพราะการเขียนสมุดนั้น จำเป็นต้องกางออกมากกว่าการเปิดอ่านหนังสือ
ไสกาวอ่อน คือ การเข้าเล่มสมุดอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งนิยมใช้ทำ สมุดฉีก หรือ post it วัสดุคือ กาวแท่ง หรือ glue stick โดยนำกระดาษมาตัดให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ จากนั้นใช้กาวแท่งทาบนกระดาษบริเวณแถบที่ต้องการทีละแผ่น เพียงเท่านี้ก็จะได้สมุดฉีก หรือ post it แบบไสกาวอ่อนไปใช้กันง่าย ๆ แล้ว
รับชมคลิป – ขั้นตอน การเย็บไสกาว ได้ที่นี่ :
5. แบบเย็บสันห่วง ( wire binding )
การเย็บประเภทนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในธุรกิจการค้า เพราะบริษัทหรือห้างร้านต่าง ๆ นิยมใช้กันทั้งสะดวกรวดเร็ว ใช้ง่าย แถมราคายังถูก จุ ด เ ด่ น อยู่ที่สันห่วงที่ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม แข็งแรง ทนทาน เหมาะสำหรับงานทุกรูปแบบ นิยมใช้กันในกลุ่มของนักเรียน , นิสิต / นักศึกษา ในการเข้าเล่มทำรายงาน หรือบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ที่ต้องจัดทำเอกสารอยู่เป็นประจำ วิธีการใช้งานเครื่องเย็บสันห่วงนั้น สามารถเจาะ และเข้าเล่มแบบขดลวด หรือแบบกระดูกงูได้ในเครื่องเดียว โดยจะ แบ่งเป็นส่วน ของการเจาะห่วงของกระดาษที่สามารถปรับขนาดกระดาษที่จะใช้เจาะได้ เมื่อเจาะเสร็จแล้วให้นำสันห่วงแบบขดลวด หรือแบบกระดูกงู มาวางไว้บนส่วนที่ใช้สำหรับใส่ห่วงและนำกระดาษที่เจาะรูไปเรียงใส่ในห่วงเท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย ส่วนใหญ่นิยมใช้กับ ปฏิทิน , ไ ด อ า รี่, รายงาน และ ส มุ ด บั น ทึ ก
รับชมคลิป – ขั้นตอน การเย็บสันห่วง ได้ที่นี่ :
เราอยู่ในยุคที่โซเชียลมีเดียมีอิทธิพลอย่างมาก เพราะมันเป็นตัวช่วยอำนวยความสะดวกไม่ว่าจะเป็น การอ่านหรือการจดบันทึกสิ่งสำคัญต่างๆลงในหน้าจอสี่เหลี่ยม แต่ถึงอย่างไรสมุดและหนังสือนั้นก็ยังมีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างมาก ขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งานและคุณค่าที่แต่ละคนมอบให้
สอบถามข้อมูลสินค้า
LINE Official : @HILMYNA
085-5077766 / 093-6464405 K.ตรอง